BOI คืออะไร

BOI (Board of Investment) เป็นหน่วยงานรัฐ มีชื่อว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มีหน้าที่ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย ทั้งนักลงทุนชาวไทยและต่างชาติ ทุกขนาดการลงทุน เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เสริมความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี และไม่เกี่ยวกับภาษี เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ การอนุญาตให้นำช่างฝีมือจากต่างประเทศมาทำงานในโครงการ โดยธุรกิจที่ขอรับการสนับสนุนจาก BOI จะครอบคลุม 8 อุตสาหกรรมหลักๆ ทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม บริการ

ที่มาของการนำ BOI มาใช้เพื่อส่งเสริมการลงทุน

หากมองย้อนกลับไปประมาณ 5 ปีที่แล้ว ทางรัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนสำหรับชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมกับต้องการยกระดับกิจการในไทยให้มีมาตรฐาน มีนวัตกรรมที่ดียิ่งขึ้น ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน BOI เป็นตัวแทนทำหน้าที่ให้การส่งเสริมนักลงทุนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ช่วยพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน กระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจากเดิมส่งเสริมกิจการตามเขตหรือนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น ปรับมาเป็นส่งเสริมตามประเภทกิจการแบ่งเป็น 8 อุตสาหกรรม โดยกำหนดเป้าหมายตามนโยบายประเทศไทย 4.0 มุ่งเน้นให้การสนับสนุนธุรกิจสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-Added Products) การวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม  และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

เงื่อนไขหลัก คือ บริษัทสัญชาติใดก็ตามที่ประกอบธุรกิจในไทย สามารถยื่นเรื่องขอรับการส่งเสริมได้ หากบริษัทผ่านเงื่อนไขและได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน บริษัทจะมีสถานะเป็น “บริษัทที่ได้รับการส่งเสริม BOI” และได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน พร้อมสิทธิประโยชน์ เช่น ยกเว้นภาษีนิติบุคคล 3 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรทั้งหมด เป็นต้น

ประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริมการลงทุน
BOI แบ่งบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมออกเป็น 8 หมวด ดังนี้

  1. เกษตรกรรมและผลิตผลทางเกษตร เช่น การปลูกพืชเศรษฐกิจ การปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตอาหารและยาทางการแพทย์
  2. ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง เช่น การผลิตเครื่องจักรกล การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วน การผลิตเครื่องยนต์ เกียร์ และระบบขับเคลื่อน
  3. เหมืองแร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน เช่น การทำเหมืองแร่ การผลิตแก้ว การผลิตเซรามิกส์ การผลิตเหล็กและโลหะพื้นฐานอื่นๆ
  4. อุตสาหกรรมเบา เช่น การผลิตสิ่งทอ การผลิตเครื่องมือแพทย์หรือชิ้นส่วน การผลิตของเล่น การผลิตกระเป๋าและรองเท้า
  5. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การพัฒนาและผลิตซอฟต์แวร์ การออกแบบและผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  6. กิจการบริการและสาธารณูปโภค เช่น การขนส่งมวลชน การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากชีวมวล ขยะ ลม แสงแดด และน้ำ การบริการทางการแพทย์
  7. การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เช่น การพัฒนาไบโอเทคโนโลยี การพัฒนานาโนเทคโนโลยี การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ขั้นสูง
  8. เคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก เช่น การผลิตยา การผลิตสารเคมี การผลิตกระดาษและบรรจุภัณฑ์ การผลิตพอลิเมอร์ และการผลิตสิ่งพิมพ์

ยื่นขอรับการสนับสนุนกิจการจะได้สิทธิอะไรบ้าง

ขั้นตอนการขอ BOI

  1. ศึกษาข้อมูลขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้เงื่อไขที่ BOI กำหนด
  2. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  3. ชี้แจงโครงการ
  4. วิเคราะห์โครงการ โดยใช้ระยะเวลาการพิจารณาตามขนาดการลงทุน
  5. แจ้งผลพิจารณา
  6. ตอบรับมติการส่งเสริมการลงทุน
  7. ขอรับบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ยื่นขอรับบัตรส่งเสริม พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ภายใน 6 เดือน
  8. ออกบัตรส่งเสริม

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ