คาร์บอนเครดิต เกิดขึ้นได้อย่างไร

จากสภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็น สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฤดูกาลผันแปร สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ระบบนิเวศเสียหาย ส่งผลกระทบรุนแรงต่อชีวิตมนุษย์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จากจุดนี้เองจึงเกิดเป็นนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเทศ เพื่อให้องค์กรต่างๆ ร่วมกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมในพิธีสารเกียวโต เมื่อ 28 สิงหาคม 2545 จัดอยู่ในประเภทที่ 2 คือการซื้อขายคาร์บอนเครดิตภาคสมัครใจ (Voluntary carbon market) ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายเหมือนประเภทที่ 1 เช่น การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ การปลูกป่าและอนุรักษ์ป่า เป็นต้น ซึ่งต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และกระบวนการที่ได้มาตรฐาน ภายใต้โครงการ T-VER ที่พัฒนาโดย TGO

Thailand Voluntary Emission Reduction Program หรือ T-VER (ที-เวอ) คือโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน หากเข้าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็จะสามารถยื่นเข้าร่วมขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ได้ โดยให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. บริการ ให้คำแนะนำ ให้การรับรองปริมาณการปล่อย การลด การชดเชยก๊าซเรือนกระจก การซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับด้านก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะ

คาร์บอนเครดิต คืออะไร

คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดหรือกักเก็บได้จากโครงการที่ขึ้นทะบียนไว้กับ T-VER โดยจะเรียกว่า “คาร์บอนเครดิต” (Carbon Credit) มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี สามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขาย นำไปใช้รายงานการชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตต่างๆ ได้ โดยคาร์บอนเครดิตมีหลายประเภทตามกลไกลดก๊าซเรือนกระจกที่ดำเนินการ

ประโยชน์ในการดำเนินโครงการด้านต่างๆ

ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเข้าร่วมโครงการ T – VER

  1. ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน โครงการ T – VERผู้พัฒนาโครงการ
  2. รับคำขอ ตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้องของคำขอ เอกสาร และหลักฐาน เจ้าหน้าที่ อบก.
  3. พิจารณากลั่นกรอง และทบทวนความถูกต้อง คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
  4. พิจารณาการขึ้นทะเบียนโครงการ T – VER คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
  5. แจ้งผลการพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ T – VER เจ้าหน้าที่ อบก.
  6. ออกหนังสือรับรอง (Certificate) การขึ้นทะเบียนโครงการ T – VER เจ้าหน้าที่ อบก.

หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน 6 ข้อ

  1. ดำเนินกิจกรรมของโครงการเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีการดำเนินงานสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)
  2. มีการดำเนินงานเข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ต้องพิสูจน์ส่วนเพิ่มเติม (Positive List) หรือมีการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
  3. สอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) ตามที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
  4. ประเมินศักยภาพการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของโครงการเป็นไปตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology)
  5. ต้องได้รับการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการ อบก.
  6. ใช้วิธีการติดตามผล และรายงานการลดก๊าซเรือนกระจกตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology)

Sena Solar Energy พร้อมบริการยื่นขอคาร์บอนเครดิต ให้กับธุรกิจของคุณ

ตัวอย่างการคำนวณค่า คาร์บอนเครดิต

ลูกค้าที่ใช้บริการกับเรา